วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

มาตราส่วนในงานเขียนแบบ


มาตราส่วนในงานเขียนแบบ

   
          มาตราส่วน มีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่
1. มาตราส่วนจริง (Full Scale) หรือที่เห็นสัญลักษณ์ มาตราส่วน 1:1
              ใช้ในกรณีที่ วัสดุหรือสิ่งที่ต้องการเขียนลงในแบบ มีขนาด พอๆกับกระดาษที่จะเขียน เพื่อต้องการจะให้เห็นขนาดเท่าของจริง
2. มาตราส่วนย่อ (Brief Scale)
หรือ ที่เราเขียนในแบบ ที่มุมด้านล่าง เช่น 1:10, 1:20, 1:100, 1:2000
               ใช้ในกรณีสิ่งที่ต้องการเขียนแบบมีขนาดใหญ่โตเกินกว่ากระดาษเขียนแบบ   ผู้เขียนแบบต้องย่อส่วนให้มีขนาดเหมาะสมกับกระดาษเขียนแบบโดยมีหลักว่า   ขนาดของสิ่งนั้นจะเป็นเท่าใดก็ตามจะกำหนดลงในกระดาษเขียนแบบเป็น  1  เสมอ   เช่น  “ มาตราส่วน  1 : 20 “ หมายความว่าขนาดชิ้นงานจริงเท่ากับ  20  ส่วนแต่ถูกย่อลงเหลือ  1  ส่วนในกระดาษเขียนแบบ  หรือ  1 ส่วน ในกระดาษเขียนแบบเมื่อนำไปขยาย  20  เท่าจะมีขนาดเท่ากับของจริง  มาตราส่วนย่อนี้ได้แก่ แผนที่ ประเทศไทย แบบบ้าน ฯลฯ
                          ตัวอย่างการย่อส่วน  
ถ้าของจริงยาว 500  เซนติเมตร  ใช้มาตราส่วน 1 : 20 ความยาวที่เขียนลงในกระดาษเขียนแบบจะเป็นเท่าใด
                          วิธีคิด
 ของจริงยาว   20  เซนติเมตร  ย่อลงในกระดาษเขียนแบบ   =  1   เซนติเมตร
ของจริงยาว  500  เซนติเมตร  ย่อลงในกระดาษเขียนแบบ  =  1/20 x 500  หรือ 0.05 x ขนาดที่ต้องการหา   (0.05 = 1/20)
ความยาวที่เขียนลงในกระดาษเขียนแบบ  =  25 เซนติเมตร
  3. มาตราส่วนขยาย (Extended Scale) หรือที่เห็นอยู่ในกระดาษเขียนแบบเป็น 10:1, 50:1                  ใช้ในกรณีสิ่งที่ต้องการเขียนแบบนั้นมีขนาดเล็กมาก  และไม่สามารถเขียนแบบแสดงรายละเอียดของชิ้นงานนั้นได้อย่างชัดเจนตามขนาดจริง ไม่สามารถกำหนดขนาดรายละเอียดได้หมด  จึงมีความจำเป็นต้องเขียนสิ่งนั้นให้มีขนาดใหญ่โตกว่าของจริงด้วยการขยายส่วน เช่น  “ มาตราส่วน 10 : 1 ”  หมายความว่าขนาดของจริง  1  ส่วนถูกขยายเป็น  10  ส่วนในกระดาษเขียนแบบ  มาตราส่วนขยายนี้เช่น แบบของเฟืองนาฬิกาข้อมือ แบบชิ้นส่วนแม่พิมพ์โมเดลรถแข่งคันเล็กๆ ฯลฯ
                         ตัวอย่างการขยายส่วน 
ถ้าของจริงยาว  2  เซนติเมตร  ใช้มาตราส่วน  5 : 1 ความยาวที่เขียนลงในกระดาษเขียนแบบจะเป็นเท่าใด
                         วิธีคิด  
ของจริงยาว   1  เซนติเมตร  ขยายลงในกระดาษเขียนแบบ  =  5   เซนติเมตร
ของจริงยาว   2  เซนติเมตร  ขยายลงในกระดาษเขียนแบบ  = 5 x 2
                                                                                                               ความยาวที่เขียนลงในกระดาษเขียนแบบ  =  10 เซนติเมตร

**สรุปย่ออีกครั้ง  ทำยังไงบางคนจะไม่สบสนเวลา เห็น 1:10 , 20 :1 อันใหนเป็นมาตราส่วนย่อ อันใหนเป็นขยาย มีวิธีการจำอยู่หลายวิธี 1 วิธีที่จะแสนอคือ  ให้จำว่า ในกระดาษ ต่อ ของจริง  แปลว่า ในกระดาษ 1 ของจริง 10 ก็เป็นมาตราส่วนย่อ   เช่นเดียวกัน ในกระดาษ 20 ของจริง 1 ก็เป็นมาตราส่วนขยาย
       ** หรืออีกวิธีหนึ่ง แต่อยากให้เลือกจำอันเดียวนะครับ เดี๊ยวจะงง  ดูที่เลข 1 แล้วท่อง หน้าย่อ หลังขยาย หมสยความว่า ดูเลข 1 ถ้าอยู่หน้า ก็เป็นมาตราส่วนย่อ  (1:10)  แต่ถ้าอยู่ข้างหลังก็เป็นมาตราส่วนขยาย (20:1) เป็นต้นนะครับ
    ยังมีข้อสังเกตในการเขียนแบบอีกนิดว่า
1. การเขียนมาตราส่วนย่อ หรือขยายนั้น มุม จะไม่ย่อ หรือขยายตามไปด้วย
2. การเขียนตัวเลยกำหนดขนาด จะไม่ย่อหรือขยายไปตามแบบที่เขียนด้วย เช่น มาตราส่วนในแบบย่อ ชิ้นงานมีความยาว 350 มิลลิเมตร ใช้มาตราส่วน 1:10 เขียนในแบบ ยาว 35 มิลลิเมตร แต่เวลากำหนดขนาด ให้เขียน 350 มิลลิเมตรเหมือนเดิม
3. ถ้าในแบบงานมีหลายชิ้นส่วนที่ใช้มาตราส่วนแตกต่างกัน เช่น บางชิ้นย่อ บางชิ้นขยาย ต้องกำหนด มาตราส่วนของแต่ละชิ้นด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น