วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เครื่องมือทั่วไป (GENERAL HAND TOOL)


เครื่องมือทั่วไป (GENERAL HAND TOOL)

เครื่องมือขนาดเล็กที่ทำงานด้วยมือ (HAND TOOL) มีหลายชนิดที่นักศึกษาช่างอุตสาหกรรมจะต้องรู้จักรูปร่างและวิธีใช้งาน เครื่องมือขนาดเล็กนี้มีบทบาทในชีวิตประจำวันของของประชาชนในปัจจุบันมากที่เดียว ซึ่งนักศึกษาบางคนอาจเคยเห็นเคยใช้งานแต่ยังใช้ไม่ถูกวิธี หรือใช้ทุกวันจนชำนาญแล้วก็มีแต่อย่างไรก็ตามเมื่อศึกษาต้องตามหลักการทำงานเพื่อประหยัดเวลา ชะลอการชำรุดของเครื่องมือจากการใช้ถูกวิธีและการเกิดอุบัติเหตุ
สารการเรียนรู้
•เลือกใช้เครื่องมือได้ถูกต้องกับงาน
•อธิบายวิธีใช้เครื่องมือชนิดต่างๆ ได้
•บอกวิธีบำรุงรักษาเครื่องมือต่างๆ ได้
อุปกรณ์จับยึด
อุปกรณ์จับยึดเป็นอุปกรณ์ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้ในการจับยึดชิ้นงานในงานเครื่องมือกล  เช่น จับยึดชิ้นงานเพื่อทำการเจาะ จับยึดชิ้นงานเพื่อทำการตะไบ การเลื่อย  การตี การดัด  เป็นต้น  อุปกรณ์จับยึดมีชื่อเรียกตามรูปร่างและลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกัน
1. ปากกาจับชิ้นงาน 2. ซีแคมลมป์  3. วีบล็อค
1. ปากกาจับชิ้นงาน
ปากกาจับชิ้นงานเป็น เครื่องมือที่จำเป็นอย่างมากในโรงงานอุตสาหกรรรมและงานช่าง เป็นเครื่องมือจับยึดชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถจับชิ้นงานได้อย่างแน่นหนาและแข็งแรงมากที่สุด มีหลายชนิด
ปากกาช่างกล เป็นปากกาที่มีความแข็งแรงมากกว่าปากกาชนิดอื่น ๆ สามารถทำงานหนัก ๆ ได้ดี  ปากกาจะมีปากอยู่ 2 ด้าน ด้านหนึ่งจะเป็นปากอยู่กับที่ อีกปากจะเคลื่อนที่มาโดยใช้เกลียว
ปากกาจับเจาะ เป็นอุปกรณ์จับยึดที่ต้องทำงานร่วมกับแท่นเจาะ ปากกาจับเจาะนี้บริเวณปากได้รับการออกแบบให้สามารถจับชิ้นงานกลมและงานเหลี่ยมได้โดยการบากด้านหน้าของปากจับให้มีลักษณะเป็นร่องมีทั้งแบบธรรมดาและแบบปรับมุมได้ เพื่อใช้สำหรับเจาะรูที่เอียง
ซีแคลมป์ (C-Clamp)
แคลมป์ชนิดนี้มีลักษณะเป็นรูปตัวซี (c) นิยมนำมาใช้งานกันอย่างแพร่หลายมีหลายขนาดโดยทั่วไปมีมือหมุนเป็นแบบแขนเลื่อนได้แป้นที่ประกอบติดอยู่บริเวณส่วนปลายของเกลียวจะช่วยให้แคลมป์สามารถปรับตำแหน่งด้วยตนเอง  เมื่อผิวของงานไม่ขนาน และช่วยไม่ให้เกิดการลื่นไถลขณะทำการขันให้แน่น
วีบล็อค (V-blocks)
วีบล็อค เป็นอุปกรณ์ที่ได้รับการออกแบบให้สามารถจับยึดชิ้นงานที่เป็นแท่งกลมหรือท่อกลมได้ดี สามารถจับชิ้นงานได้หลายขนาด โดยชิ้นงานจะวางอยู่ในร่องตัววีของแท่งเหล็กและยึดด้วยแคลมป์ เหมาะสำหรับใช้ในการเจาะได้ดี  และถ้าเป็นชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่มากก็สามารถใช้แท่งวีบล๊อคประกอบกับแคลมป์ขั้นบันไดได้
หลักในการจับชิ้นงานด้วยปากกา
เพื่อให้ปากกาจับชิ้นงานได้อย่างมั่นคง ต้องให้ปากของปากกาสัมผัสชิ้นงานตลอดความยาว และต้องวางชิ้นงานอยู่ตรงกึ่งกลางของปากกา
ชิ้นงานที่มีความยาวมาก ไม่สามารถจับตรงกลางของปากกาได้ เมื่อจำเป็นต้องวางริมข้างใดข้างหนึ่ง จะต้องเสริมด้วยเหล็กรองซึ่งมีขนาดเท่ากันเพราะ ไม่เช่นนั้นแล้วปากจับของปากกาจะเอียง ทำให้สัมผัสเป็นจุด  เมื่อมีแรงกระทำจะทำให้ชิ้นงานหมุนตามแรงกระทำได้
สำหรับชิ้นงานที่ไม่เอื้ออำนวยในการจับ เช่น เหล็กตัวยู ควรใช้ไม้เนื้อแข็งหรือแท่งเหล็กซึ่งมีขนาดเล็กกว่าร่องกลางของเหล็กตัวยู ช่วยส่งแรงกดอัด
ควรใช้แผ่นรองปากของปากกกา  เป็นแผ่นทองแดง อะลูมิเนียม หรือแผ่นเหล็กติดไฟเบอร์ ป้องกันชิ้นงานไม่ให้ผิวขูด
ข้อควรระวัง อย่าขันปากกาแน่นด้วยค้อน
ค้อน (Hammer)
ค้อน คือเครื่องมือสำหรับตอกหรือทุบบนวัตถุอื่น สำหรับการใช้งานเช่น การตอกตะปู การจัดชิ้นส่วนให้เข้ารูป และการทุบทลายวัตถุ ค้อนอาจได้รับการออกแบบมาให้ใช้งานเฉพาะทาง และมีรูปร่างกับโครงสร้างที่หลากหลาย แต่มีโครงสร้างพื้นฐานที่เหมือนกันคือด้ามจับและหัวค้อน
แบ่งเป็น 2  ลักษณะ
1.ค้อนหัวแข็ง
โดยทั่วไปจะทำจากเหล็กหล่อเหนียวหรือเหล็กกล้าชุบแข็ง  ทนต่อแรงอัดและแรงกระแทกได้เป็นอย่างดี  แต่ละประเภทมีรูปร่างและลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกัน
ชนิดของค้อนหัวแข็ง
ค้อนหัวกลม เป็นค้อนที่มีหน้าค้อนที่ใช้ตอกตี หน้าตัดจะมีลักษณะกลมผิวหน้าของค้อนจะนูนโค้งเล็กน้อยส่วนด้านบนหรือ หงอนค้อนจะมีลักษณะเป็นทรงกลม นิยมนำมาใช้ในการตอกตีทั่วไป เช่นใช้กับสกัด การนำศูนย์ การตัดงอเหล็กเส้นกลมหรือเส้นแบน  และเคาะขึ้นรูปทั่วไป
ค้อนหัวตรง เป็นค้อนที่มีส่วนหงอนของค้อนจะมีลักษณะแบนและอยู่ในตำแหน่งขนานไปกับด้ามค้อน ด้านหน้าค้อนใช้ตอกตีเคาะ ดัด ชิ้นงานทั่วไป ส่วนหงอนที่มีลักษณะแบบนั้นใช้เคาะขึ้นรูปหรือตียึดแผ่นโลหะมีรูปร่างต่าง ๆ
ค้อนหัวขวาง เป็นค้อนที่มีลักษณะการใช้งานคล้ายค้อนหัวกลมและค้อนหัวตรง แต่ค้อนชนิดนี้มีหงอนด้านบนมีลักษณะแบนแต่อยู่ในตำแหน่งขวางกับด้ามจับ
ค้อนเดินสายไฟ เป็นค้อนที่มีลักษณะคล้ายกับค้อนย้ำหมุดทุกประการ เพียงแต่ผิวหน้าของค้อนจะเรียบ เพื่อที่จะได้ใช้ตอกตะปูเดินสายไฟโดยไม่ลื่น ค้อนเดินสายไฟนี้มีขนาดเล็ก  ขนาดที่ใช้กันโดยทั่วไป คือ น้ำหนัก 150 กรัม และ 200 กรัม
ค้อนปอนด์ เป็นค้อนที่ใช้สำหรับงานหนักทั่วไป หน้าตัดมีรูปร่างเป็นแปดเหลี่ยม ผิวหน้าจะนูนและลาดเอียงไปทางขอบ มีตั้งแต่ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่  เหมาะสำหรับงานที่ต้องการใช้แรงกระแทกสูง  เช่น ใช้ทุบกำแพง ใช้ตีเหล็ก และงานทุบตี ดัดงอทั่วไป
ค้อนช่างไม้ หรือค้อนหัวแพะเป็นค้อนสำหรับช่างไม้ซึ่งใช้สำหรับตอกตะปู และถอนตะปู หน้าตัดของค้อนจะมีลักษณะกลม ผิวหน้าเรียบหรือมีโค้งเล็กน้อยเท่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้ลื่นขณะทำการตอกตะปูส่วนหางหรือหงอนค้อนจะมีลักษณะเป็นง่ามคล้ายเขาแพะซึ่งใช้สำหรับถอนตะปู ด้ามค้อนอาจทำด้วยไม้ หรือพลาสติกแข็งก็ได้
2.ค้อนหัวอ่อน
เป็นค้อนที่ทำจากวัสดุอ่อนเหมาะสำหรับใช้ตี เคาะ ดัดชิ้นงานที่มีผิวอ่อน เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวหน้าของโลหะหรือชิ้นงานเป็นรอย เพื่อป้องกันไม่ให้โลหะที่เคลือบอยู่หลุดล่อนหรือลอกออก และยังใช้ในการถอนประกอบชิ้นงานส่วนของเครื่องมือเครื่องจักร อีกด้วย
ค้อนทองเหลือง หัวค้อนทำจากทองเหลือง ซึ่งมีส่วนผสมระหว่างทองแดงกับสังกะสี ผิวหน้าของค้อนมีลักษณะโค้งเล็กน้อย ใช้สำหรับเคาะชิ้นงานหรือแผ่นโลหะที่ทำจากโลหะที่เนื้ออ่อน เช่น ทองแดง อลูมิเนียม ตะกั่ว เป็นต้น
ค้อนพลาสติก หัวค้อนทำจากพลาสติกแข็ง หน้าตัดมีลักษณะกลม ผิวหน้านูนเล็กน้อย บริเวณขอบมน หัวพลาสติกทั้งสองข้างเหมือนกันขันติดอยู่กับแกนเกลียวของอลูมิเนียมหล่อ เมื่อหัวค้อนเยินหรือแตก สามารถถอดเปลี่ยนใหม่ได้
ค้อนยาง หัวค้อนทำจากยางาพารา ซึ่งผ่านกรรมวิธีทางเคมีทำให้มีสีดำ คุณสมบัติเหนียวนุ่ม เหมาะสำหรับใช้เคาะขึ้นรูปชิ้นงานที่มีเนื้ออ่อน หรือโลหะแผ่นเคลือบที่บางมาก เพื่อช่วยในการรักษาผิวงาน
ค้อนไม้ เป็นค้อนที่ไม่ได้ทำจากโลหะ แต่ทำจากไม้เนื้อแข็งซึ่งอาจจะทำเป็นแท่งกลมตัน โดยลบคมบริเวณของทั้งสองข้าง หรืออาจทำเป็นแท่งสี่เหลี่ยม โดยลบคมบริเวณมุมที่กระทำกับผิวหน้าทั้ง 4 ด้าน ใช้สำหรับเคาะ ดัด ตีวัสดุหรือโลหะที่มีผิวอ่อน
ค้อนหนัง ค้อนชนิดนี้หัวค้อนทำจากหนังแข็งที่ยังไม่ได้ฟอกม้วนเป็นแท่งกลม หน้าตัดเรียบ เหมาะสำหรับเคาะ พับโลหะอ่อนทั่วไป
ไขควง (Screwdriver)
ไขควง คือ อุปกรณ์ชนิดหนึ่งซึ่งออกแบบมาเพื่อขันสกรูให้แน่นหรือคลายสกรูออก ไขควงทั่วไปประกอบด้วย..แท่งโลหะ ส่วนปลายใช้สำหรับยึดกับสกรู ซึ่งมีรูปร่างแตกต่างกันเพื่อให้ใช้ได้กับสกรูชนิดต่างๆ     และมีแท่งสำหรับจับคล้ายทรงกระบอกอยู่อีกด้านหนึ่งสำหรับการไขด้วยมือ หรือไขควงบางชนิดอาจจะหมุนด้วยมอเตอร์ก็ได้ ไขควงทำงานโดยการส่งทอร์ก(torque) จากการหมุนไปที่ปลาย ทำให้สกรูหมุนตามเกลียวเข้าหรือออกจากวัสดุอื่น
ไขควง เป็นเครื่องมือสำหรับ ขันและคลาย สกรูชนิดหัวผ่า ขนาดและรูปทรงของไขควงถูกออกแบบให้เป็นไปตามลักษณะการ ใช้งาน เช่น ไขควงที่ใช้สำหรับงานของช่างอัญมณี (Jeweler’s Screw Driver)จะออกแบบมาให้เป็นไขควงที่ใช้สำหรับงานละเอียดเที่ยงตรงกับ ไขควง ที่ใช้ ในงานหนักของช่างเครื่องกลจะออก แบบให้ก้านใบเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเพื่อให้ใช้ประแจ หรือ คีมจับขันเพื่อเพิ่มแรงในการบิดตัวของ ไขควง ให้มากกว่าเดิมได้ไขควงประกอบด้วย ส่วนประกอบหลัก 3 ส่วนคือ
1.ด้ามไขควง (Handle)  2.ก้านไขควง (Blade or Ferule)  3.ปากไขควง (Tip)
ซึ่งไขควง  เป็นเครื่องมือแฮนด์ทูล ใช้ไขสกรูเข้าออกงานทั่วไป  ด้ามไขควงทำด้วยพลาสติกหรือไม้ มีขนาดเหมาะมือและสะดวกในการใช้งาน

ตัวอย่างลักษณะหัวสกรู
ไขควงชนิดต่าง ๆ
ข้อเลือกใช้และการระวังรักษาไขควง
•ต้องเลือกแบบและขนาดไขควงให้เหมาะสม
•ตรวจสภาพของไขควง
•อย่าให้สัมผัสกับวงจรไฟฟ้าแรงสูง
•เวลาขันต้องให้ไขควงตั้งฉากกับหัวสกรูเสมอ
•เวลาใช้ไขควงอย่าใช้มือจับที่หัวสกรู
•อย่าใช้ไขควงเป็นเครื่องมืองัดแงะ ตอก และเจาะชิ้นงาน ทำความสะอาดให้เรียบร้อยและเก็บให้เป็นระเบียบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น